วัตถุประสงค์ของชมรม

1) เพื่อให้สมาชิกในชมรมช่วยเหลือและส่งเสริมสังคมด้านวัตถุในการซ่อมแซม..ก่อสร้าง..ทำนุบำรุงถาวรวัตถุ..ของวัด..โรงเรียน..ที่ยังขาดแคลนในนามของชมรมค่ายอาสาฯ ทีทีเอ็ม

2) เพื่อเป็นการฝึกบำเพ็ญตนและช่วยเหลือสังคมในด้านจิตใจและพุทธจริยธรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการสู่เยาวชนในนามของชมรมค่ายอาสาฯ ทีทีเอ็ม

3) เพื่อหล่อหลอม ขัดเกลาจิตใจ ของสมาชิกชมรมให้ยึดมั่นในพระรัตนไตร และการทำความดีตามแนวทางของทาน ศีล ภาวนา

4) เพื่อให้สมาชิกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ถูกวิธี และบังเกิดผลสูงสุด

5) เพื่อให้สมาชิกนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกติ์ใช้ในงานออกค่ายอาสาฯ และนำไปประยุกต์ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

6) เพื่อให้สมาชิกบำเพ็ญตนเป็นผู้เสียสละดังนั้นทุกกิจกรรมของชมรมจะส่งเสริมให้สมาชิกเข้าร่วมโดยความสมัครใจ และไม่ให้มีการบังคับแต่อย่างใด

7) เพื่อให้สมาชิกของชมรมประพฤติปฏิบัติในทานบารมี ดังนั้นการบริจาคทานเพื่องานการกุศลใดๆทางชมรมจะประกาศบอกบุญแต่ห้ามมิให้มีการเดินเรี่ยไรเด็ดขาด

8) เพื่อช่วยเหลือและให้ปรึกษากับทีทีเอ็ม ในงานด้านอาสาพัฒนาและกิจกรรมพุทธศาสนา

9) กิจกรรมของชมรมเพื่อดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามในการช่วยเหลือสังคมและเป็นแบบอย่างของการเสียสละ อีกทั้งยังเป็นการสร้างชื่อเสียงคุณความดีของ ทีทีเอ็ม

สอนวิปัสสนากรรมฐาน

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระพุทธทาส









โดย พี่เปิ้ล ธรรมศักดิ์

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทสวดพาหุงมหาการุณิโก พร้อมคำแปลโดยพี่ขวัญ ศักดิ์ชาย

การสวดมนต์นั้นถ้าเรารู้ความหมายของบทสวดก็ยิ่งจะทำให้เรามีสมาธิและยึดมั่นในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น............หรือมีผลพลอยได้ในปัจจุบันการคือได้บุญ..จิตสงบ...ใจมีสมาธิ....อนาคตกาลคือตายไปแล้วจะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นยามาเป็นอย่างต่ำ...นี่ว่ากันตามที่พระท่านบอกนะ..ไม่ใช่ประธานบอก..ถ้าถามว่าพระไหนบอก...ก็ตอบว่าลองไปหาอ่านเอาหนังสือหลวงปู่มั่น..หลวงพ่อฤษีอ่านกันดู..................บทสวดบางบทให้แง่คิดในการแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตของเราด้วย...อย่างวันนี้จะนำเสนอความหมายของบทสวดพาหุงมหากาประธานจะอธิบายทีละย่อหน้านะว่าเราได้แง่คิดในการเอาชนะมารแต่ละแบบของพระพุทธองค์อย่างไรบ้าง.......เอาแค่จบพาหุงก็พอ...ส่วนมหากาเอาไว้วันหลัง

บทที่1.....กล่าวถึงการเอาชนะพยามารที่ขี่ช้างครีเมขละมาคอยขัดขวางไม่ให้พระองค์ตรัสรู้ได้...........ทรงเอาชนะได้ด้วยธรรมะวิธีอันมีทานบารมีเป็นต้น(ทานาทิธัมมะวิธินา).............

..เกร็ดความรู้ปัจจุบันนี้พยามารก็คือ พระยามาราธิราช..เจ้าผู้ปกครองสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวะสะวัตตี..ที่ตามมาขัดขวางเพราะมีเหตุขัดเคืงกันมาตั้งแต่อดีตชาติ...ถ้าเล่าเดี๋ยวไม่จบ.

บทที่2...กล่าวถึงการที่พระองค์เอาชนะพวกอาฬวกยักษ์ซึ่งเป็นลูกน้องของพยามารได้ด้วยขันติความอดทน (ขันตีสุทันตะวิธินา)

บทที่3.......กล่าวถึงการที่พระพุทธองค์เอาชนะช้างนาฬาคิริงที่ถูกพระเทวทัตมอมเหล้าให้ตกมัน...ได้ด้วยพระเมตตา(เมตตัมพุเสกะวิธินา)

ช้างนาฬาคิริงนี้จะมาบังเกิดเป็นพระพุ?ธเจ้าองค์อนาคตองค์ที่9นับจากพระศรีฯ...พอช้างวิ่งมาพระอานนท์ก็ออกมายืนขวางกันพระพุทธองค์ไว้..แต่ทรงตรัสให้พระอานนท์หลบไป..แล้วทรงใช้พระเมตตาทำให้ช้างสงบ..พอช้างนาราคิริงมีสติก็น้ำตาไหลด้วยคิดว่านี่เราปรารถนาพุทธภูมิแต่เราดันเกือบจะทำร้ายพระพุทธองค์

บทที่4.......กล่าวถึงการที่พระองค์ทรงเอาชนะองคุลีมารได้ด้วยอิทธิฤทธิ์ทางใจ (อิทธีภิสังชะตะมะโน) คือองคุลีมารวิ่งตามเท่าใดก็ไม่ทันพระองค์สักทีทั้งๆที่ท่านก็เดินตามธรรมดา..จึงได้ตะโกนบอกให้พระองค์หยุด..พระองค์ตรัสว่าเราหยุดแล้วท่านต่างหากที่ยังไม่หยุดก่อเวรกรรม..................เรื่องขององค์คุลีมารก็มีที่มาที่ไปเหมือนกัน..คือในอดีตชาติแกเป็นควายที่มีเทพรักษาถึง8องค์.ที่พ่อควายจะฆ่าลูกที่เกิดมาเป็นควายตัวผู้ทั้งหมด.........เฮ้อถ้าเล่าก็ยาวอีก...ไว้ก่อนนะ

บทที่5.............กล่าวถึงการที่พระพุทธองค์ทรงเอาชนะนางจิญจายะกา...ได้ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม (โสมมะวิธินา) .......คือเรื่องของเรื่องเนี่ยนางคนนี้แกได้รับการวานจ้างจากพระเทวทัตให้แสร้งเอาไม้ที่กลึงจนกลมแล้วมาผูกไว้ที่ท้องใส่ชุดคลุมไปยืนชี้หน้าด่าพระพุทธองค์..ขณะที่ทรงเทศน์โปรดญาติโยมอยู่..จนพระอินทร์ทนไม้ได้จึงแปลงเป็นหนูมากัดเชือกขาด..คนเห็นดังนั้นก็จะรุมประชาทันแก..พอแกวิ่งหนีมาก็โดนธรณีสูบลงไปอยู่ที่อเวจีมหานรก.........ปัจจุบันนี้ก็ยังอยู่.......นางคนนี้ในอดีตชาติแกก็คือนางอมิตดาเมียชูชก...ซึ่งชูชกมาในชาตินี้ก็คือพระเทวทัต.....อันนี้ก็มีเรื่องมีราวกันมากับพระพุทธองค์ในอดีตชาติหลายๆชาติที่ผ่านมาแกแค้น..แกเอามือกำทรายมาหนึ่งกำมือเอาอาฆาตว่าฉันจะตามจองล้างจองผลาญพระพุทธเจ้า(ตอนนั้นท่านยังไมได้เป็นพระพุทธเจ้านะ)ไปทุกชาติตราบเท่าเม็ดทรายในกำมือนี้..โอ๊ยถ้าเล่าไปก็ยาวอีก.........

บทที่6...................ทรงเอาชนะสัจจนิครน(เป็นพวกเจ้าลัทธิต่างๆในสมัยนั้น)ผู้ถือตัวว่าฉลาด......เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด...ทรงเอาชนะได้ด้วยแสงปัญญาแห่งพุทธะ(ปัญญาปะทีปะชะลิโต)........

บทที่7..............ทรงเอาชนะพยานาคชื่อนันโทปนันทะ.ที่กำแหงมาเนรมิตกายบดบังพระอาทิตย์..ทรงให้พระโมคคัลลานะผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายเป็นพระสาวกที่เป็นหนึ่งด้านอิทธิฤทธิ์ไปปราบ..(อิทธูปะเทสะวิธินา)

บทที่8สุดท้าย...........ทรงเอาชนะท่านท้าวผกาพรหมที่สำคัญตนว่าเป็นพรหมที่ยิ่งใหญ่ไม่มีผู้ใดเกิน..มาท้าพระพุทธองค์สู้..ทรงตรัสว่าไม่จำเป็นต้องสู้หรอก..ตัดสินกันด้วยการแอบซ่อน...ใครแอบจนอีกฝ่ายหาไม่เจอก็ถือว่าชนะไป..ท่านท้าวแกแอบก่อนพระองค์ก็ทรงหาเจอ..ทีนี้พระองค์แอบมั่งท้าวแกหาไม่เจอแกยอมแพ้...ที่แกหาไม่เจอเพราะพระองค์ขึ้นไปอยู่ที่พระนิพพาน..พรหมย่อมที่จะไม่รู้......................โม้มามากแล้วพอก่อน..

บทพาหุงมะหาการุณิโก

(สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งอโยธยา มอบให้ สมเด็จพระนเรศวร)

(1) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(2) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(3) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(4) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังชะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(5) กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินิยา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(6) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง

ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(7) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(8) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(9) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที

หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

บทสวดมนต์

1 คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

2 คำบูชาพระรัตนตรัย
โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ เมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โยโส สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โยโส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ เมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
3 คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)

4 คำนมัสการไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

5 คำนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (56จบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (38จบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเณยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (14จบ)

6 คำนมัสการพระพุทธเจ้า28พระองค์
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วาระสาระถี
ประทุมมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิบุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระนัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว.

7 บทพาหุงมะหาการุณิโก
(สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งอโยธยา มอบให้ สมเด็จพระนเรศวร)
(1) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(2) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(3) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(4) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังชะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(5) กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินิยา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(6) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(7) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(8) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
(9) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทาติ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ
ภะวันตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวันตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวันตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)วัดระฆังโฆสิตาราม)
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
(1) ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
(2) ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา (3) สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร (4) หะยะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก (5) ทักขิเน สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
(6) เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภัง กะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
(7) กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวา ทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
(8) ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสี วะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
(9) เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
(10) ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
(11) ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาติยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
(12) ชินะ นานาวะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
(13) อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
(14) ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล สะทาปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
(15) อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

พุทธะมังคะละคาถา (สมเด็จโต)
สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะเค จะ อาคเณยยะ จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ ควัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อิสาเนปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนย ยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย

คาถา เสริมสร้างทาง สวรรค์-นิพพาน
พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ
อิติปิ โส ภะคะวา นะโม พุทธายะ
พระคาถา พระเจ้า16 พระองค์
นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง
อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง สุอะนะอะ

พระคาถา มงกุฏพระพุทธเจ้า
อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ
อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ

พระคาถา พระเจ้า5 พระองค์
นะทรงฟ้า โมทรงดิน พุทธทรงสินธุ์ ธาทรงสมุทร ยะทรงอากาศ
พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูภัยพาล วินาสสันติ
นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัฌเช โมกาโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธกาโร กัสสะโปพุทโธ จะ ทะเวเนเต ธากาโร ศรีศากกะยะมุนีโคตะโม ยะกันเต ยะกาโร อริยะเมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง

คาถาพยายม
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติ
จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ
พระคาถา บูชาดวงชะตา
นะโม เม สัพพะเทวานัง สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง สุริยัญ จะ ปะมุญจะถะ สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง โสโร ราหุเกตุ จะ มะหาลาภัง
สัพพะภะยัง วินาสสันติ สัพพะทุกขัง วินาสสันติ สัพพะโรคัง วินาสสันติ ลักขะณา อะหัง วันทามิ
สัพพะทา สัพพะเทวา มัง ปาละยันตุ สัพพะทา เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม
คาถาอุณหิสสวิชัย
อัตถิ อุณหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร
สัพพะสัตตะ หิตัตถายะ ตัง ตวัง คัณหาหิ เทวะเต
ปะริวัชเช ราชะทัณเท อะมะนุสเสหิ ปาวะเก
พยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละ มะระเณนะ วา
สัพพัสมา มะระณา มุตโต ฐะเปตวา กาละมาริตัง
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
สุทธะสีลัง สะมาทายา ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง วาจะณัง คะรุง
ปะเรสัง เทสะนัง สุตวา ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ.

คาถากันโรคภัยไข้เจ็บ
1) สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เม.
2) สักกัตวา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เม.
3) สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เม.

คาถาหลวงปู่สุข
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ
คาถา หลวงพ่อโอภาสี
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
ปะฐะวีคงคา พระภูมิมะเทวา ขะมามิหัง

คาถาเสริมทรัพย์ (บูชา พระปัจเจกะพระพุทธเจ้า)
(หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา)

ตั้งนะโม 3จบ
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (1จบ)
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา
วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (3จบ)


คำสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต "
หรือ
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ "
คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ
(ถ้าหลายคนว่า.....ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ....
ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ )
คาถาบูชาพระสีวลี
สีวลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระภิปูชิโต โสระโห ปัจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตังสะทา มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม”
คาถาเงินล้าน
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภวันตุ เม
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม
มิเตพาหุหะติ
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี
วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ
พุทธัสสะ สวาโหม (9จบ)
สัมปะฏิจฉามิ เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤาๆ

คาถาอภิญญา
“หลวงพ่อ” ขอให้พระทุกองค์ สละเวลา ๑ ชั่วโมง ภาวนา “คาถาอภิญญา” ให้ทำติดต่อกันทุกวัน ท่านบอกว่าคาถานี้ “พระ” มาบอกให้ภาวนา ถ้าทำได้จะมีผลคล้ายอภิญญา คือไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกกสิณ ๑๐ ภาวนาคาถานี้แล้วจะใช้ผลของกสิณได้เลย...
“กาลต่อไปข้างหน้า บรรดานักบวชที่บิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าจะคุกคามหนักขึ้น ถึงขนาดโจมตีเรื่องอภิญญาสมาบัติ ว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อเหลวไหล เมื่อถึงเวลานั้นพวกคุณจะต้องแสดงออกให้ชาวบ้านได้เห็น เขาจะได้รู้ว่าใครกันแน่ที่ปฏิบัติตรงตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...” ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ถึงขนาดเดิมพันกันด้วยอนาคตของพระศาสนาเชียวหรือ...? ในเมื่อเป็นคำสั่งของ “หลวงพ่อ” อาตมาก็น้อมรับใส่เกล้า นำไปยึดถือปฏิบัติทันที วิธีการมีดังนี้...
๑. นะโมฯ. ๓ จบ
๒. พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิฯ. ตติยัมปิฯ.
๓. อิติปิโสฯ. สวากขาโตฯ. สุปฏิปันโนฯ.
๔. แล้วทำใจสบาย ๆ ภาวนาว่า “สัมปจิตฉามิ” อ่านว่า สำ – ปะ-จิต-ฉา-มิ
โดย
พี่ขวัญ ศักดิ์ชาย

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ข่าว

หลังจากที่มีการ ประชุมเรื่องการหาสถานที่ในการปฏิบัติธรรม ซึ่งในที่ประชุมได้ลงความเห็นที่จะขอใช้พื้นที่บางส่วนของห้องสมุด ทางพี่ขวัญได้ทำการติดต่อพูดคุยกับส่วนงาน HR ซึ่งได้รับความเห็นชอบด้วยในเรื่องนี้ คาดว่าทางชมรมคงจะได้รับอนุญาตในการใช้พื่นที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งทางประธานชมรมคงจะแจ้งให้ทราบอีกที

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อนุโมทนาสาธุกับพี่ภูมิพงศ์

ร่วมอนุโมทนากับพี่ภูมิพงศ์กันด้วยนะครับ



วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขอคำแนะนำ,ความคิดเห็น

เพื่อนๆ พี่ น้อง ทีทีเอ็มครับ หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะเสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำหรืออยากให้ชมรมทำสิ่งใดทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้โดย:

1.เลือกคลิ๊กที่"ความคิดเห็น"

2.ใส่ความคิดเห็นในช่อง"แสดงความคิดเห็น"

3.หลังจากแสดงความคิดเห็นเสร็จแล้ว ให้เลือกในช่อง"แสดงความคิดเห็นในฐานะ: "แล้วเลือก "OpenID" หรือ "ชื่อ/URL" (แนะนำอย่างแรก) ต่อจากนั้นจะมีหน้าต่างให้ใส่ชื่อแล้วจึงคลิ๊กดำเนินการต่อ ก่อนจะโพสจะเลือกแสดงตัวอย่างก่อนหรือไม่ก็ได้เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการประชุมชมรมค่ายอาสาพัฒนาและวิปัสสนาธรรม ครั้งที่ 1

บันทึกการประชุมชมรมค่ายอาสาพัฒนาและวิปัสสนาธรรม ครั้งที่ 1

สถานที่ประชุม : ห้องประชุมเทพา
วันที่ : 13 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา : 12.30 น.-13.00 น.
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นายศักดิ์ชาย ชังเรือง ประธานชมรม
2. นายธรรมศักดิ์ ศรีสุขใส รองประธานชมรม
3. นายอรรถพงศ์ ปูชนียกุล กรรมการชมรม
4. นายศุภวุฒิ เจริญมาก กรรมการชมรม
รายละเอียดการประชุม
1. กิจกรรมของชมรมมีดังนี้
1.1 จัดให้มีกิจกรรมสวดมนต์ทุกวันศุกร์ ช่วงเวลา 12.30 น.-13.30 น. ส่วนบทสวดมนต์จะเป็นบทใดบ้างจะได้ประชุมหารรือกันอีกครั้ง และเวลาในการทำกิจกรรมดังกล่าวทางชมรมจะแจ้งให้บริษัททราบอีกครั้ง
1.2 จัดให้มีการประชุมใหญ่ของชมรมประมาณกลางเดือนของแต่ละเดือนเพื่อติดตามงานหรือกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาและวางแผนกิจกรรมในเดือนต่อๆไป รวมทั้งหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ
1.3 จัดให้มีกิจกรรมถวายสังฆทานเดือนละครั้งในวันเสาร์หรืออาทิตย์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจและสามารถถวายสังฆทานได้อย่างถูกต้อง
1.4 จัดกิจกรรมบริจาคสิ่งของให้โรงเรียนที่คาดแคลนอุปกรณ์การเรียน
1.5 จัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาและสิ่งแวดล้อม เช่น ออกค่ายสร้างห้องน้ำ ซ่อมแซมอาคาร วัด ขุดลอกคูคลอง สอนหนังสือให้เด็ก โดยกิจกรรมจะจัดในวันหยุดราชการ
1.6 มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาบรรยายธรรมหรือหัวข้อพิเศษต่างๆอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
1.7 จัดให้มีการปฏิบัติธรรม วิปัสสนาธรรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
กิจกรรมทั้งหมดไม่มีการบังคับแต่อย่างใด หากสมาชิกสะดวกสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยกิจกรรมหลักของชมรมได้แก่กิจกรรมในข้อ 1.2 1.5 และ 1.7
2. อุปกรณ์และถาวรวัตถุที่ชมรมควรจะมีได้แก่
2.1 ห้องพระ (รอมติจากที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง)
2.2 ชั้นวางหนังสือ เทป ซีดี
2.3 หนังสือธรรมะ เครื่องเล่น CD / MP3
2.4 พระพุทธรูปสำหรับวางที่โต๊ะหมู่บูชา
2.5 อุปกรณ์จำเป็นที่ใช้ในการออกค่ายอาสา
3. งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมในปีแรกมีรายละเอียดโดยประมาณดังนี้
3.1 งบประมาณใช้ในกิจกรรมค่ายอาสา 30,000 บาท
3.2 งบประมาณในการเช่าพระพุทธรูป 4,000 บาท
3.3 งบประมาณค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 10,000 บาท
รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 44,000 บาท
4. มอบหมายให้ผู้เข้าร่วมประชุมวันนี้ไปเขียนผังองค์กร วัตถุประสงค์ของชมรม ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำกิจกรรม กิจกรรมและงบประมาณ
5. จะประชุมสมาชิกชมรมเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นอีกครั้งในวันพฤหัสบดีหรือศุกร์หน้า

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

รายชื่อสมาชิก

1. ศักดิ์ชาย ชังเรือง
2. ธรรมศักดิ์ ศรีสุขใส
3. อรรถพงศ์ ปูชนียกุล
4. ศุภวุฒิ เจริญมาก
5. พิชากร ไชยประภา
6. ประโยชน์ ศีลบุตร
7. กรรณิการ์ ศักดิ์ศรีอมร
8. รัตนวดี สุวรรณอมรเลิศ
9. ถนอมศรี อุทัยรัตน์
10. เอมอร รุ่งวิชาพงศ์
11. ดวงพร เฟื่องทอง
12. ละอองดาว นนทพันธ์
13. พยุงศักดิ์ สุวรรณศิลป์
14. วริศรา เสรีวัฒนาชัย
15. สิริพรรณ ชี้ทางดี
16. เสาวภา เพชรสังฆาต
17. ศุรเดช ทับมาก
18. คมสัน จันทร์สว่าง
19. ชยพร จันทร์ศรีคง
20. พัชรนันท์ แท่มนมณี
21. ภูมิพงศ์ แพรกทอง
22. อาทิตย์ วิวัฒนาวิศาลสกุล
23. บรรหาร กบิลพัตร
24. เอกรัตน์ ลิ้มพันธ์อุดม
25. มนทิรา จันทรัตน์
26. อนุวัตร์ ทิพย์มณี
27. กิตติยา วงษ์ศราพันธ์ชัย
28. มโน อภิณหสมิต